การจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM)
การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ
1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม
2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม
แผนการจัดการองค์ความรู้
ประเด็นที่ 1 : การส่งเสริมจิตสำนึกและพฤติกรรมการปฺบัติงาน โดยยึดมั่นตามหลักธรรมมาภิบาลในการบริหารงานบุคคล
1. ธรรมาภิบาลในการทำงาน
2. วัคซีนป้องกันการทุจริต
3. คุณธรรมของข้าราชการ
4. ธรรมะคือหน้าที่
5. หลักธรรมะในการทำงาน
ประเด็นที่ 2 : การพัฒนาความรู้แก่พนักงานส่วนตำบล
2) การกำหนดแบบบัญชี ทะเบียน และรายงานการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3) ประชาสัมพันธ์แผนการฝึกอบรมไตรมาสที่ ๑ – ๔ ปีงบประมาณ ๒๕๕๘
4) หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติการบันทึกบัญชี การจัดทำทะเบียน และรายงานการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
องค์ความรู้ (KM) ที่เกี่ยวข้อง
1. องค์ความรู้ภายในองค์กร ความรู้ภายในองค์กร
1.1 แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากร (พ.ศ.2558-2560)
1.2 แผนพัฒนาบุคลากร
2. องค์ความรู้ภายในองค์กร ความรู้ภายนอกองค์กร
2.2 ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๗
2.3 พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2542
2.5 ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับบำนาญของราชการส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 15) พ.ศ.2558